คู่มือการดำเนินงาน
Genetics Bench Mark ในฟาร์มสำหรับ
การปรับปรุงพันธุ์สุกรด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่
 
โปรแกรมการคัดเลือกสุกรในนิวเคลียส
 
 

บทนำ

การผลิตในระดับนิวเคลียสมีเป้าหมายสูงสุด คือ ต้องการให้มีความก้าวหน้าทางพันธุกรรมมากที่สุด เพราะจะส่งผลให้การผลิตในระดับที่ถัดมาจากปิรามิดการผลิต ซึ่งได้แก่ การผลิตของปู่-ย่าพันธุ์ การผลิตของพ่อ-แม่พันธุ์ และการผลิตหมูขุน มีประสิทธิภาพการผลิตสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะทำให้รายได้และกำไรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการคัดเลือกจึงเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญ โดยมีข้อแนะนำซึ่งเป็นหลักการในการคัดเลือก ดังนี้

การคัดเลือกพ่อพันธุ์

พ่อพันธุ์ที่ใช้ ผสมเทียมอยู่เดิมจะถูกทดแทนด้วยพ่อสุกรหนุ่มที่มีค่า Index สูงกว่า ด้วยการเรียงลำดับพ่อพันธุ์ที่มีอายุมากที่สุดจนถึงน้อยที่สุด พ่อพันธุ์ที่อายุมากที่สุดจะถูกทดแทนเมื่อพ่อสุกรหนุ่มสามารถรีดน้ำเชื้อและผสมเทียมได้ สำหรับพ่อสุกร% จากสุกรพ่อพันธุ์ที่ทดสอบทั้งหมดในแต่ละชุดหนุ่มให้ทำการคัดเลือกประมาณ 1-2

การคัดเลือกแม่พันธุ์

แม่พันธุ์ที่ได้รับการคัดเลือกและให้ลูกตั้งแต่ครอกที่ 1 ถึง 3 ควรทำการทดแทนด้วยแม่สุกรสาวทดแทนที่มีค่าของ Index สูงกว่าประมาณก่อนที่จะถูกทดแทนด้วยแม่สุกรสาวที่มี index สูงกว่า
20-30% และควรทดแทนทั้งหมด 100% ในครอกที่ 4 หลังหย่านม อย่างไรก็ตามให้พิจารณาจำนวนหมูสาวที่ทำการทดสอบสำหรับทดแทนแต่ละครั้งประกอบด้วย

พ่อแม่พันธุ์ที่คัดทิ้งจาก GGP

ให้นำมาใช้เป็นฝูงขยายพันธุ์ (multiplier herd) ใช้ผลิต GP และใช้เป็น GP ผลิต PS หรือหมูขุน อย่างไรก็ตามยังต้องมีการจดบันทึกการให้ผลผลิตพ่อ-แม่พันธุ์ที่อยู่ในฝูง multiplier และ GP อย่างต่อเนื่องเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการประเมินพันธุกรรม

การรักษาระดับกลุ่มอายุและจำนวนของ GGP

ให้เหมาะสมโดยให้มีช่วงอายุต่างกันน้อยที่สุด โดยให้จัดการตั้งแต่การผสมและการคลอดเพื่อให้ได้สุกรเข้าทดสอบในแต่ละครั้ง ประมาณ 15-20 ครอก โดยช่วงอายุต่างกันไม่เกิน 3 สัปดาห์ หรืออย่างน้อยที่สุดไม่ควรต่ำกว่า 10 ครอก จากพ่อพันธุ์ 3 ตัว

การผสมพันธุ์

พ่อพันธุ์ที่คัดเลือกต้องพยายามให้มีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมน้อยที่สุด และต้องมีการตรวจสอบความสัมพันธ์ทางสายเลือดทุกครั้งก่อนการจัดคู่ผสมพันธุ์เพื่อไม่ให้เกิดเลือดชิด หรือรักษาระดับเลือดชิดให้คงที่

การผลิตสุกรพันธุกรรมยอดเยี่ยม

หลังจากมีรายงานการประเมินพันธุกรรมแล้ว ให้ทำการคัดเลือกสุกรแม่พันธุ์ (active dam) ที่มี Index สูงสุดประมาณ 5-10% ของฝูง ทำการผสมเทียมกับน้ำเชื้อพ่อพันธุ์ที่มีพันธุกรรมยอดเยี่ยมที่สุด เพื่อผลิตลูกที่มีพันธุกรรมดีและนำลูกที่ผลิตได้เข้าทดสอบสมรรรถภาพการผลิต (individual performance) ทำการคัดเลือกในขั้นต้นประมาณ 5-10% แล้วทำการทดสอบน้ำเชื้อและทดสอบลูก (progeny test) ทั้งด้านการผลิตและการสืบพันธุ์ คัดเลือกพ่อพันธุ์ที่ผ่านการทดสอบประมาณ 1-2% เพื่อใช้เป็นพ่อพันธุ์ที่มีพันธุกรรมดีเยี่ยม (elite sire) ที่ผ่านการทดสอบแล้ว ส่วนแม่สุกรสาวก็ใช้ทดแทนแม่พันธุ์สุกรยอดเยี่ยมของฝูงต่อไป
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการทำงานในระดับของ GGP ต้องมีความรวดเร็วถูกต้องแม่นยำและใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจอย่างเข้มงวด เป็นหัวใจสำคัญในการทำงาน การทดแทนพ่อ-แม่พันธุ์อย่างรวดเร็วด้วยสุกรทดแทนที่มีค่า Index สูงกว่า จะทำให้เกิดความก้าวหน้าทางพันธุ์อย่างรวดเร็ว และทำให้ประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

แนวโน้มพันธุกรรม (genetic trend)

การตรวจสอบผลความก้าวหน้าทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละปี สามารถตรวจสอบได้จากผลการวิเคราะห์แนวโน้มพันธุกรรม ซึ่งเป็นการวัดประสิทธิภาพของแผนการปรับปรุงพันธุ์ทั้งหมด โดยมีหน่วยวัดเป็นความก้าวหน้า/ปี เพื่อนำผลการวิเคราะห์นำไปปรับปรุงแก้ไขการทำงาน และควรมีการวิเคราะห์แนวโน้มเพื่อวัดผลปีละ 2 ครั้ง