คู่มือการดำเนินงาน
Genetics Bench Mark ในฟาร์มสำหรับ
การปรับปรุงพันธุ์สุกรด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่
 
มาตรฐานการทดสอบสมรรถภาพผลิตในฟาร์ม
 
 

บทนำ

การทดสอบสมรรถภาพการผลิตสุกรในฟาร์มมีวัตถุประสงค์เพื่อที่ช่วย
1. ใช้ในการคัดเลือกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ทดแทนในฝูงในการผสมพันธุ์
2. เพื่อที่จะทำการคัดเลือกสุกรที่มีความดีเด่นทางพันธุกรรม ในสายพันธุ์ (line) หรือพันธุ์ ( Breed)
3. เพื่อทดแทนฝูงพื้นฐานด้านพันธุกรรมที่ดีเยี่ยม

วิธีการทดสอบ

การทดสอบในฟาร์มจะมีข้อได้เปรียบ กว่าการส่งสุกรไปทดสอบที่สถานี เนื่องจากสามารถทดสอบสัตว์ได้จำนวนมาก ๆ ซึ่งทำให้มีความถูกต้องของค่า EPD การทดสอบควรจัดให้อยู่ในกลุ่มสภาพแวดล้อมเดียวกัน (contemporary test groups) นอกจากพันธุ์เดียวกันหรือลูกผสมพันธุ์เดียวกันแล้ว สุกรที่เข้าทดสอบควรเป็นกลุ่มที่เกิดอยู่ในช่วงอายุเดียวกัน คือไม่ควรต่างกันเกิน 3-6 สัปดาห์ เลี้ยงด้วยอาหารและการจัดการที่เหมือนกัน ในการทดสอบแต่ละครั้งควร
มีสุกรอย่างน้อย 20 ตัว ไม่ต่ำกว่า 5 ครอก และเป็นลูกที่เกิดจากพ่อไม่ต่ำกว่า 2 ตัวในฟาร์มขนาดเล็กหรือขนาดกลาง และเพื่อให้มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงมีข้อแนะนำสำหรับฟาร์มขนาดกลาง-ใหญ่ คือ ควรเป็นสุกรไม่ควรน้อยกว่า 15-20 ครอก จากพ่อพันธุ์อย่างน้อย 3 ตัว อายุห่างกันไม่เกิน 3 สัปดาห์ นอกจากนี้การจดบันทึกในการผลิตต้องเน้นให้เห็นความสำคัญ เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของการทดสอบในฟาร์มเช่นกัน โดยสรุปแล้ววิธีการทดสอบเริ่มตั้งแต่การคลอดเป็นต้นไปดังนี้

1. การทำเครื่องหมายบนตัวสัตว์ทุกตัวในฝูงด้วยการติดเบอร์หู การสักเบอร์ และการติดเบอร์หูเพื่อไม่ให้สุกรเกิดความซ้ำซ้อนของเบอร์ ซึ่งต้องระมัดระวังอย่างมาก

2. การบันทึกข้อมูลการเกิด (Birth record) ภายใน 3 วันสุกรทุกตัวต้องได้รับการบันทึกในสมุดบันทึกหรือคอมพิวเตอร์ ได้แก่ น.น.แรกเกิด วันที่เกิด เบอร์ตัว เบอร์พ่อแม่ พันธุ์ของพ่อแม่ เพศ ขนาดครอก ลูกตายระหว่างคลอด

3. Sow Productivity ซึ่งเป็นข้อมูลความสามารถในการผลิตของแม่ ได้แก่ ครอกที่เกิด จำนวนแรกเกิดมีชีวิตและตาย การชั่ง น.น.หย่านมควรชั่งก่อนหย่านม โดยใกล้กับเมื่ออายุ 21 วัน จะทำให้มีความแม่นยำสูง ในการประเมินความสามารถในการให้นมของแม่ ( milking ability) โดยแนะนำให้ชั่งอยู่ในช่วง 14 ถึง 28 วัน และจะทำให้เป็นมาตราฐานที่ 21 วัน เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

4. การเจริญเติบโต ( Growth )
- การชั่งน้ำหนักในการทดสอบ
ควรชั่ง น.น. ใกล้กับ น.น. 104 กก. โดยแนะนำให้มีการชั่ง น.น. 85-125 กก. แล้วทำการปรับให้เป็นมาตราฐาน 104 กก.
- สุกรควรเข้าทดสอบเมื่อ น.น. 25 - 31 กก.

5. ความหนาของไขมันสันหลัง (Back fat)
ทำการวัดตัวด้วยเครื่อง Realtime ultrasound โดยทำการวัดห่างจากแนวสันหลังประมาณ 2 นิ้ว

6. น.น. แรกเกิด ควรทำการชั่ง น.น.4ภายใน 3 วันหลังเกิด